#นวดจับเส้นนนทบุรีbyอเอก
เส้นลมปราณหัวใจ ร้อนมีอาการอย่างไร
อาการตัวร้อนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งมาจากการเป็นไข้ ตัวร้อน, การทานอาหารที่มีธาตุร้อนมากจนเกินไปก็ทำให้ร่างกายเกิดความร้อนมากขึ้นกว่าปกติ, การทำงานหนักมากเกินไป จนทำให้ร่างกายเกิดการเกร็งค้าง เมื่อไม่แก้ไขก็จะเกิดอาการเลือดลมไม่เดิน หรือเลือดลมเดินไม่สะดวก เหมือนรถติดขัดนานมาก ทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสะสมตกค้างอยู่ ณ บริเวณนั้น วันนี้เราได้ไปเจอข้อมูลดี ๆ จึงนำมาฝากเพื่อน ๆ ให้ได้รู้กัน ในguasahealthcare-เส้นลมปราณหัวใจร้อนมีอาการอย่างไร? โดย...หมอไพร
เรารู้กันอยู่แล้วว่า ประตูที่ลิ้นอยู่ที่ลิ้น หัวใจเป็นอวัยวะธาตุไฟ หากเส้นลมปราณหัวใจร้อนไม่ว่าจะร้อนแกร่งหรือร้อนพร่อง อาการจะสะท้อนออกที่ลิ้นทันที หากร้อนเบาๆจะพบเพียงปลายลิ้นแดงเจ็บ ร้อนมากกว่านั้นลิ้นเป็นแผล หนักเบาตามความร้อนมากน้อย อาการร้อนของเส้นหัวใจ... นอกจากลิ้นเป็นแผล โดยเฉพาะเป็นแผลที่ปลายลิ้นแล้ว ยังมีอาการ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย นอนพลิกไปพลิกมา หลับยาก ถึงหลับแล้วก็ฝันมาก หลับไม่ลึก กังวล ปัสสาวะสั้น น้อยและร้อน สีเข้ม ร้อนแกร่ง
อาการร้อนในจากไฟหัวใจแกร่งนี้ เราสามารถใช้ "ดีบัว" 4-6 ดอก ชงน้ำดื่ม สามารถลดไฟหัวใจได้ดี จากเหตุผลนี้จึงมีการแนะนำต่อๆกันมาว่า ดีบัว ช่วยบำรุงหัวใจ จึงซื้อหามากินกัน โดยไม่ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเหมาะกับร่างกายเราแค่ไหน ดีบัวมีฤทธิ์หนาว กินมากทำลายหยางชี่ ทำให้หยางหัวใจลดน้อยลง การร้อนจากไฟหัวใจแกร่งจึงหายไป แต่ถ้ากินนาน หรือท่าไม่ใช่ร้อนจากไฟแกร่ง แต่เกิดจากไฟพร่อง หยางหัวใจจะถูกลดทอนลงมากกว่าเดิม เกิดอาการโรคหัวใจชนิดหยางชี่พร่องขึ้นได้ ดังนั้นการใช้ควรระมัดระวัง ต้องให้เหมาะกับร่างกายตัวเอง
เราสามารถดูแลตัวเองดง่าย ๆ ด้วย กดจุดหรือฝังเข็มที่ช่วยลดร้อนแกร่งแทนดีบัวจุดนั้นก็คือ "จุดจงชง" อยู่ปลายนิ้วกลาง เส้นลมปราณหัวใจเดินไปจบที่ปลายนิ้วกลาง การหาจุด ต้องงอนิ้วหน่อยๆ ใช้เล็บมือกดหรือใช้ไม้จิ้มฟันกดก็ได้ ยังมีจุดอยู่ที่หลัง เรียกว่า "จุดซินซู" หากไฟหัวใจสูงชนิดแกร่ง สามารถใช้วิธีกวาซา ให้คนอื่นช่วยกวาก็ได้ และถ้าเป็นมากสามารถใช้วิธีปล่อยเลือด แต่อันนี้ต้องทำด้วยแพทย์
ดีบัวไม่สามารถใช้กับไฟหัวใจร้อนพร่องได้ เพราะจะเย็นเกินไป เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า อะไรคือร้อนพร่อง ปรกติยินหยางต้องสมดุลกัน พอความสมดุลนี้เสียไป เช่น หยางมีมากกว่ายิน เกิดอาการร้อน ร้อนเช่นนี้เราเรียก "ร้อนแกร่ง" การรักษาต้องลดหยาง ลดร้อน
แต่ในกรณีที่ยินเกิดน้อยกว่าหยาง จึงดูเหมือนว่าหยางมาก ทำให้เกิดอาการร้อน การร้อนเช่นนี้เรียกว่า "ร้อนพร่อง" หรือเรียกว่าร้อนจากยินพร่อง การรักษาไม่ใช่ลดหยาง หากแต่ต้องเพิ่มยินให้ไปเท่ากับหยาง อาการร้อนจึงจะหายไป หากเราไปเพิ่มหยาง อาการร้อนในไม่เพียงไม่หาย ยังจะหนักยิ่งขึ้น
หัวใจเป็นธาตุไฟ ไฟหัวใจต้องใช้น้ำของไตมาควบคุม ไม่ให้ไฟหัวใจมากจนเกินไป กรณีที่ไฟหัวใจร้อนพร่องจึงมักเกิดจากไตยินพร่อง น้ำน้อย สารน้ำสารเหลวน้อย ดับไฟไว้ไม่ได้ ทำให้ไฟหัวใจร้อน การร้อนพร่องเช่นนี้จึงไม่ใช่ใช้ “ดีบัว” ไปลดหยาง แต่หากต้องเพิ่มยิน โดยเฉพาะบำรุงยินไต เพื่อจะสามารถควบคุมไฟของหัวใจลง
เราจะจำแนกไฟแกร่งกับไฟพร่องได้อย่างไร ไฟแกร่ง แผลแดงสดมาก เจ็บปวดทรมานมากกว่า ท้องผูก เป็นต้น ส่วนไฟพร่อง แผลที่ลิ้นไม่แดงเข้ม เจ็บปลายลิ้นน้อยกว่า บวกอาการร้อนฝ่ามือฝ่าเท้า ร่วมด้วย หรืออาจเกิดจากไตหยางพร่อง มือเท้าเย็น แต่ปากร้อน ปากเป็นแผล อันเป็นการร้อนพร่องที่ทั้งต้องขับร้อนหัวใจทั้งต้องเพิ่มน้ำให้กับหัวใจ
จุดที่ช่วยเพิ่มน้ำให้ไต ก็คือ "จุดไท่ซี" อยู่ระหว่างกลางของตาตุ่มด้านในกับเอ็นร้อยหวาย ใช้ท้องนิ้วโป้ง นวดกดให้รู้สึกเจ็บๆเสียวๆ เพื่อเป็นการเพิ่มยินให้แก่ไต ทำเป็นประจำจะช่วยได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ที่มา http://www.komchadluek.net/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น